นโยบาย

OUR POLICE

นโยบายสิทธิแรงงาน และการบริหารทรัพยากรบุคคล

สยาม เจ เอ็น เค  มีหลักการและการบริหารแรงงานให้สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชนและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การใช้แรงงานอย่างถูกกฎหมาย การไม่จ้างแรงงานเด็ก การไม่บังคับใช้แรงงาน (แรงงานบังคับ) การคุ้มครองแรงงานหญิงมีครรภ์ การไม่ล่วงละเมิดทางเพศ การไม่กระทําใดที่ถือเป็นความรุนแรง การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม การเคารพสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคทางเพศ ความเสมอภาคทางกายภาพ ความหลากหลายและไม่แบ่งแยก ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและเปิดโอกาสแสดงความคิดเห็น ช่วยเหลือพนักงานที่ประสบปัญหาปฏิบัติด้านแรงงานอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม  และไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการใช้แรงงานบังคับในทุกรูปแบบงานหรือบริการทุกชนิดซึ่งบีบบังคับเอาจากบุคคลใดๆ โดยการใช้บทลงโทษ และบุคคลดังกล่าวนั้นมิได้สมัครใจที่จะทำเอง เช่น ไม่บังคับใช้แรงงานที่ไม่ได้สมัครใจทำไม่บังคับใช้แรงงานด้วยการข่มขู่ ไม่ใช้ความรุนแรงทางกายหรือทารุณทางเพศ ไม่กักขังหรือใช้เป็นแรงงานขัดหนี้ การไม่จ่ายหรือค้างค่าจ้าง การจำกัดเสรีภาพในการเคลื่อนย้าย การถูกโดดเดี่ยว รวมถึง ไม่เรียกเก็บเงินหรือเก็บยึดเอกสารประจำตัวใด ๆ ของพนักงาน เว้นแต่เป็นการดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด

สยาม เจ เอ็น เค มีนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างยั่งยืนที่เคารพสิทธิต่อสิทธิแรงงานตามกฎหมาย รวมถึงสิทธิมนุษยชนอันพึงมีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในขอบข่ายการทำงานของพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน พัฒนาบุคลากรอย่างทั่วถึง เสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติโดยจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของ ตำแหน่งนั้นๆและความก้าวหน้าในสายอาชีพ  กำหนดและเปิดเผยหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้พนักงานรับทราบอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมเพื่อให้ พนักงานสามารถพัฒนาศากยภาพการทำงาน พร้อมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมตามกรอบสากล เช่น หลักสากลของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติว่า ด้วย “การปกป้อง การเคารพ และการเยียวยา” (UN “Protect, Respect and Remedy” Framework for Business and Human Rights) องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ และแนวปฏิบัติสำหรับบรรษัทข้ามชาติ (OECD Guidelines for Multinational Enterprises) เป็นต้น รวมทั้งให้ความสำคัญต่อความสมดุลระหว่างการทำงาน และการดำเนินชีวิต ด้วยการส่งเสริมให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตในการทำงาน ให้มีความมั่นคง ความ ปลอดภัย และมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี มีการกำหนดเป้าประสงค์และตัววัดผลการดำเนินงานของ การปรับปรุงปัจจัยต่าง ๆ ของสภาพแวดล้อมที่ชัดเจน สยาม เจ เอ็น เค จัดให้มีช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย โดยพนักงานมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลขององค์กร ประกอบไปด้วย ข้อมูลนโยบาย ระเบียบและข้อกำหนด ข่าวสารด้านแรงงาน การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ กิจกรรมส่งเสริมความผูกพันของพนักงาน แนวปฏิบัติสำหรับพนักงานเมื่อเกิดภาวะวิกฤต ตลอดจนข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านการประกาศข่าวภายใน และการแจ้งโดยผู้บังคับบัญชาและหัวหน้างาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกระบวนการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนและ ร้องทุกข์อย่างโปร่งใสเป็นระบบ มีการเปิดช่องทางให้ร้องเรียนและร้องทุกข์โดยอิสระ พร้อมทั้งสื่อความให้ พนักงานทุกระดับทราบเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ร้องเรียนและร้องทุกข์จะได้รับความคุ้มครอง ไม่ให้มีผลกระทบ ในเชิงลบต่อการปฏิบัติงานหรือความปลอดภัย ตลอดจนแนวทางการป้องปรามและมีกลไกที่ใช้ในการป้องกันการเกิดซ้ำ

ประกาศและให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2565 ประกาศนี้

ลงชื่อ

นายธิติ คัณธามานนท์

ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท สยาม เจ เอ็น เค จำกัด

นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน

เพื่อให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของกลุ่ม สยาม เจ เอ็น เค เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และมีแนวทางปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทในกลุ่มสยาม เจ เอ็น เค  โดยสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส เป็นธรรมและตรวจสอบได้ บริษัทฯ จึงกำหนดนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนของกลุ่ม สยาม เจ เอ็น เค  ดังนี้ 

1. จัดซื้อจัดจ้างโดยคำนึงถึงความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งในด้านคุณภาพ ราคา และการให้บริการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับกลุ่มสยาม เจ เอ็น เค

2. จัดซื้อจัดจ้างโดยมุ่งเน้นด้านจริยธรรมทางธุรกิจ ไม่เอาเปรียบผู้ค้า และให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน เปิดเผย และปฏิบัติต่อผู้ค้าอย่าง เท่าเทียมกัน รวมถึงรับฟัง ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ของผู้ค้า

3. จัดซื้อจัดจ้างอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ ปฎิบัติตามระเบียบข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมถึงมีการบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในกิจการที่ดี

4. จัดซื้อจัดจ้างและบริหารจัดการคู่ค้าอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และธรรมภิบาล หรือการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Environmental , Social and Governance : ESG) รวมถึง  การกำกับดูแลคู่ค้าให้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติคู่ค้ากลุ่มสยาม เจ เอ็น เค  (Supplier Code of Conduct : SCOC) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารสายโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

5. มุ่งเน้นความสำคัญในการบริหารคู่ค้า สร้างสัมพันธภาพที่ดี รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพให้มีการพัฒนา
   ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

6. บริหารจัดการองค์ความรู้ระหว่างกลุ่มสยาม เจ เอ็น เค  พร้อมทั้งผลักดันการใช้งานเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านจัดซื้อจัดจ้างและมุ่งสู่ความเป็นเลิศของกลุ่ม สยาม เจ เอ็น เค


          ทั้งนี้ ผู้บริหารและพนักงานบริษัทในกลุ่มสยาม เจ เอ็น เค  ทุกคนมีหน้าที่สนับสนุน ผลักดัน และปฏิบัติภายใต้นโยบายและกรอบการบริหารจัดการการจัดซื้อจัดจ้างของกลุ่มสยาม เจ เอ็น เค อย่างเคร่งครัด

ประกาศและให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2565 ประกาศนี้

ลงชื่อ

นายธิติ คัณธามานนท์

ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท สยาม เจ เอ็น เค จำกัด

นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม

สยาม เจ เอ็น เค เป็นผู้ประกอบธุรกิจโครงการคลังสินค้าให้เช่า เพื่อเติมเต็มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์อย่างครบวงจร โดย สยาม เจ เอ็น เค มุ่งมั่นที่จะผลักดันและสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ ให้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด พร้อมทั้งเสริมสร้างอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานแก่ทุกคนในองค์กร เพื่อการเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ดังนั้น สยาม เจ เอ็น เค จึง ได้กำหนดนโยบายและมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

1. สยาม เจ เอ็น เค มุ่งมั่นในการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการป้องกันมลพิษและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน ให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดีโดยการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งจากการอุปโภค บริโภค , การควบคุมปริมาณของเสียและการนำกลับมาใช้ใหม่ (re-use) รวมถึงการวางแผนภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ ด้วย วิธีการที่เหมาะสม และการคัดแยกวัสดุสำหรับการเตรียมนำไปรีไซเคิล และการจัดกิจกรรม Big Cleaning Day เพื่อจัดการทรัพยากรในสถานที่ทำงาน ทำความสะอาด ลดวัสดุอุปกรณ์สิ้นเปลือง คัดแยกและกำจัดอย่างเหมาะสมสำหรับวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานที่ทำงาน และสิ่งแวดล้อม

2. สยาม เจ เอ็น เค ได้กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันและลดผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมและการบริการของ สยาม เจ เอ็น เค โดยการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ ที่่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งสนับสนุนผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ลดละเลิกการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีพิษต่อ สิ่งแวดล้อมในบริเวณสถานที่ทำงาน และลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม,งดใช้วัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารอันตราย

3. สยาม เจ เอ็น เค ได้สร้างจิตสำนึก ให้ความรู้ และสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่พนักงาน ตลอดทั้ง ผู้ที่ทำงานภายใต้การควบคุมของสยาม เจ เอ็น เค ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจัดหาหลักสูตร ฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยแก่บุคลากรภายในองค์กรเพื่อเป็นการยกระดับความรู้และเสริมสร้างแนวทางในการปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม

4. สยาม เจ เอ็น เค มีการบริหารจัดการการใช้พลังงาน สาธารณูปโภค และของเสีย เช่น น้ำ ไฟฟ้า ขยะมูลฝอยฯลฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อนุรักษ์พลังงาน และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งรณรงค์ให้มีการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการลดการใช้ ใช้ให้คุ้มค่า และนำกลับมาใช้ใหม่ ให้ความรู้เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ พลังงานกับบุคลากรในองค์กร ให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับ การรักษาสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงาน และประกาศนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้พนักงานได้รับทราบอย่างทั่วถึง ผ่านช่องทางการสื่อสารภายในองค์กร

5. สยาม เจ เอ็น เค ได้ปรับปรุงวิธีการดำเนินงานและเสริมสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ เกิดความปลอดภัยตามมาตรฐานและวิธีการที่กำหนด พร้อมทั้งดำเนินการปรับปรุงเพื่อลดอุบัติเหตุ และป้องกัน การเจ็บป่วยจากโรคที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ผลกระทบด้านอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

6. สยาม เจ เอ็น เค สร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

ประกาศและให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2565 ประกาศนี้

ลงชื่อ

นายธิติ คัณธามานนท์

ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท สยาม เจ เอ็น เค จำกัด

นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน

สยาม เจ เอ็น เค  มีอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม โดยยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตาม หลักบรรษัทภิบาลและจรรยาบรรณสยาม เจ เอ็น เค  ในด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนนั้น สยาม เจ เอ็น เค  ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย และมุ่งมั่นที่จะเคารพสิทธิ มนุษยชนตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนและปฏิบัติตามปฏิญญาสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) หลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนส าหรับธุรกิจแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) และปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labor Organization Declaration on  Fundamental Principles and Rights at Work: ILO) รวมถึงมุ่งมั่นในการดำเนินการตามจรรยาบรรณ และนโยบายว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนต่างๆ ที่บริษัทประกาศใช้เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจของสยาม เจ เอ็น เค ปลอดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการจึงเห็นสมควรให้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนขึ้นเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกกิจกรรม ทางธุรกิจของ สยาม เจ เอ็น เค  (Direct Activity) รวมถึงคู่ค้า คู่ธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ (Suppliers/ Contractors in

 Business Value Chain) และผู้ร่วมธุรกิจ (Joint Ventures)

ขอบเขตการดำเนินการนโยบาย และข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชนนี้ใช้สำหรับทุกกิจกรรมของ สยาม เจ เอ็น เค  (พนักงาน กิจกรรมทางธุรกิจโดยตรง สินค้า และบริการ) ที่สยาม เจ เอ็น เค มีอำนาจในการบริหาร เช่น กิจการของสยาม เจ เอ็น เค  บริษัทที่สยาม เจ เอ็น เค ถือหุ้นทั้งหมด บริษัทย่อย และ ผู้ร่วมธุรกิจ (Joint Ventures)

สยาม เจ เอ็น เค มุ่งหวังและส่งเสริมให้คู่ธุรกิจของสยาม เจ เอ็น เค  ที่ สยาม เจ เอ็น เค ไม่มีอำนาจในการบริหาร เช่น บริษัทร่วมและบริษัทที่สยาม เจ เอ็น เค ร่วม ลงทุนอื่นๆ รวมถึง คู่ธุรกิจ (Contractors) คู่ค้า (Suppliers) และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ สนับสนุนและปฏิบัติตามแนวนโยบายนี้

นิยามศัพท์ที่ใช้กับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน (Human Rights) หมายความว่า สิทธิที่มีโดยธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทาง กาย จิตใจ เชื้อชาติ สัญชาติ ถิ่นกำเนิดเผ่าพันธุ์ ศาสนา เพศ ภาษา อายุ สีผิว การศึกษา สถานะทางสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม หรือเรื่องอื่นใดตามกฎหมายของแต่ละประเทศ และตามสนธิสัญญาที่แต่ละประเทศมีพันธกรณีจะต้องปฏิบัติ รวมถึง สิทธิในการดำรงชีวิตและเสรีภาพ การพ้นจากการเป็นทาสและการทรมาน การค้ามนุษย์ การล่วงละเมิด การใช้แรงงาน บังคับและการใช้แรงงานเด็ก การมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น อิสระในการรวมกลุ่มและการเจรจาต่อรอง สิทธิในการทำงานชั่วโมงการทำงานการได้รับค่าตอบแทนอย่างเท่าเทียม การศึกษา และสิทธิอื่นๆ เช่น การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สุขภาพและ ความปลอดภัย ชนกลุ่มน้อยในชุมชนท้องถิ่น และสิทธิชุมชน โดยทุกคนมีสิทธิต่างๆ เหล่านี้อย่างเท่าเทียม ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ โดย การบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคคล

การเลือกปฏิบัติ (Discrimination) หมายความว่า การปฏิบัติและการดูแลต่อบุคคลอย่างไม่เท่าเทียม โดยการเพิ่มภาระ หรือไม่ให้สิทธิประโยชน์ที่เท่าเทียม แทนที่จะปฏิบัติต่อบุคคลอย่างเป็นธรรมตามพื้นฐานที่แต่ละบุคคลควรได้รับ ซึ่งการเลือกปฏิบัติ อาจรวมถึงการล่วงละเมิดด้วย

การล่วงละเมิด (Harassment) หมายความว่า การแสดงความเห็น หรือการกระทำที่ไม่พึงปรารถนา หรือเป็นที่ยอมรับ โดยท่ัวไปว่าไม่เป็นที่พึงปรารถนาต่อบุคคลที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วยการล่วงละเมิดที่ไม่ใช่ทางเพศอาจรวมถึงการรวมกลุ่มประณามว่าร้าย และการข่มเหงรังแก เป็นต้น ในขณะที่การล่วงละเมิดทางเพศจะมีองค์ประกอบทางเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง

กลุ่มเปราะบาง (Vulnerable Group) หมายความว่า บุคคลที่ขาดความสามารถในการปกป้องสิทธิและประโยชน์ของตน เนื่องจากขาดอำนาจ การศึกษา ทรัพยากร ความเข้มแข็ง หรืออื่น ๆ และมีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน เช่น ผู้หญิง ผู้พิการ เด็ก ชนพื้นเมือง แรงงานอพยพ ผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) แรงงานของคู่ธุรกิจ คู่ธุรกิจ และ ชุมชน เป็นต้น

นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน

คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน สยาม เจ เอ็น เค ทุกระดับ ต้องตระหนักถึงความสำคัญ และเคารพต่อสิทธิมนุษยชนในทุกด้าน ของบุคคลทุกคน ตลอดจนสังคมและชุมชน ตามกฎหมายของแต่ละประเทศ และตามสนธิสัญญาที่แต่ละประเทศมีพันธกรณีที่ต้อง ปฏิบัติ โดยรวมถึง ปฏิบัติต่อทุกคนตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียมปราศจากการเลือกปฏิบัติ หลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน สนับสนุนส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การสื่อสาร เผยแพร่ ให้ความรู้ ทำความเข้าใจ กำหนดแนวทาง สอดส่องดูแล และให้การสนับสนุนแก่ผู้เกี่ยวข้อง

แนวทางปฏิบัติ ให้ความเคารพต่อสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมต่อผู้มี ส่วนได้เสียและกลุ่มเปราะบางทุกกลุ่ม โดยไม่แบ่งแยกความแตกต่างทางกาย จิตใจ เชื้อชาติ สัญชาติ ถิ่นกำเนิดเผ่าพันธุ์ ศาสนา เพศ ภาษา อายุ สีผิว การศึกษา สถานะทางสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม หรือเรื่องอื่นใด ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจน มุ่งมั่นป้องกันการคุกคามในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการคุกคามทางเพศ และการคุกคามรูปแบบอื่น สยาม เจ เอ็น เค ยึดมั่นในนโยบาย การไม่เลือกปฏิบัติ ต่อต้านการล่วงละเมิด และไม่ยอมให้มีการล่วงละเมิดในทุกรูปแบบ (ทั้งการล่วงละเมิดทางเพศและไม่ใช่ ทางเพศ) โดยนโยบายนี้กำหนดว่าข้อร้องเรียนใดๆ ที่บริษัทได้รับ จะได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง รักษาเป็นความลับ และ ให้ความเห็นอกเห็นใจ หากการกล่าวหานั้นได้รับการยืนยัน จะดำเนินการตามมาตรการเยียวยา ลงโทษทางวินัย เลิกจ้าง หรือดำเนินคดีตามกฎหมาย สื่อสาร เผยแพร่นโยบาย ให้ความรู้ ทำความเข้าใจ กำหนดแนวทางและให้การสนับสนุนอื่นใดแก่พนักงาน คู่ค้า คู่ธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่า ของธุรกิจ (Suppliers/Contractors in Business Value Chain) ตลอดจนผู้ร่วมธุรกิจ (Joint Ventures) เพื่อให้มีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจ อย่างมีคุณธรรม เคารพต่อสิทธิมนุษยชน และปฏิบัติต่อทุกคนตามหลักสิทธิมนุษยชนตามแนวนโยบายนี้ และทวนสอบความเข้าใจอย่าง สม่ำเสมอ  และจัดให้มีการฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงการเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิดในสถานที่ทำงานแก่พนักงานทุกคนและ ผู้ที่เกี่ยวข้อง

ประกาศและให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2565 ประกาศนี้

ลงชื่อ

นายธิติ คัณธามานนท์

ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท สยาม เจ เอ็น เค จำกัด 

นโยบายอาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม

สยาม เจ เอ็น เค เป็นผู้ประกอบธุรกิจโครงการคลังสินค้าให้เช่า เพื่อเติมเต็มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์อย่างครบวงจร โดย สยาม เจ เอ็น เค มุ่งมั่นที่จะผลักดันและสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ ให้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด พร้อมทั้งเสริมสร้างอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานแก่ทุกคนในองค์กร เพื่อการเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ดังนั้น สยาม เจ เอ็น เค จึง ได้กำหนดนโยบายและมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

1. สยาม เจ เอ็น เค มุ่งมั่นในการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการป้องกันมลพิษและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน ให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดีโดยการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งจากการอุปโภค บริโภค , การควบคุมปริมาณของเสียและการนำกลับมาใช้ใหม่ (re-use) รวมถึงการวางแผนภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ ด้วย วิธีการที่เหมาะสม และการคัดแยกวัสดุสำหรับการเตรียมนำไปรีไซเคิล และการจัดกิจกรรม Big Cleaning Day เพื่อจัดการทรัพยากรในสถานที่ทำงาน ทำความสะอาด ลดวัสดุอุปกรณ์สิ้นเปลือง คัดแยกและกำจัดอย่างเหมาะสมสำหรับวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานที่ทำงาน และสิ่งแวดล้อม

2. สยาม เจ เอ็น เค ได้กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันและลดผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมและการบริการของ สยาม เจ เอ็น เค โดยการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ ที่่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งสนับสนุนผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ลดละเลิกการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีพิษต่อ สิ่งแวดล้อมในบริเวณสถานที่ทำงาน และลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม,งดใช้วัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารอันตราย

3. สยาม เจ เอ็น เค ได้สร้างจิตสำนึก ให้ความรู้ และสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่พนักงาน ตลอดทั้ง ผู้ที่ทำงานภายใต้การควบคุมของสยาม เจ เอ็น เค ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจัดหาหลักสูตร ฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยแก่บุคลากรภายในองค์กรเพื่อเป็นการยกระดับความรู้และเสริมสร้างแนวทางในการปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม

4. สยาม เจ เอ็น เค มีการบริหารจัดการการใช้พลังงาน สาธารณูปโภค และของเสีย เช่น น้ำ ไฟฟ้า ขยะมูลฝอยฯลฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อนุรักษ์พลังงาน และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งรณรงค์ให้มีการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการลดการใช้ ใช้ให้คุ้มค่า และนำกลับมาใช้ใหม่ ให้ความรู้เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ พลังงานกับบุคลากรในองค์กร ให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับ การรักษาสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงาน และประกาศนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้พนักงานได้รับทราบอย่างทั่วถึง ผ่านช่องทางการสื่อสารภายในองค์กร

5. สยาม เจ เอ็น เค ได้ปรับปรุงวิธีการดำเนินงานและเสริมสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ เกิดความปลอดภัยตามมาตรฐานและวิธีการที่กำหนด พร้อมทั้งดำเนินการปรับปรุงเพื่อลดอุบัติเหตุ และป้องกัน การเจ็บป่วยจากโรคที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ผลกระทบด้านอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

6. สยาม เจ เอ็น เค สร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

ประกาศและให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2565 ประกาศนี้

ลงชื่อ

นายธิติ คัณธามานนท์

ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท สยาม เจ เอ็น เค จำกัด